เมนู

ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยาน
ในธรรมนั้น ๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ๆ ถ้าเธอหวังว่า เราพึงกระทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เธอ
ย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ๆ.
จบ คาวีสูตรที่ 4

อรรถกถาคาวีสูตรที่ 4


คาวีสูตรที่ 4

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปพฺพเตยฺยา ได้แก่ แม่โคมักเที่ยวไปบนภูเขา. บทว่า
น สุปติฏฺฐิตํ ปติฏฺฐาเปตฺวา ได้แก่ ไม่ยันเท้าหน้าไว้ให้ดี. บทว่า
ตํ นิมิตฺตํ ได้แก่นิมิต กล่าวคือปฐมฌานนั้น. บทว่า น สฺวาธิฏฺฐิตํ
อธิฏฺฐาติ
ได้แก่ ไม่ตั้งใจไว้ด้วยดี. บทว่า อนภิหิสมาโน ได้แก่
ให้สำเร็จ. บทว่า มุทุ จิตฺตํ โหติ กมฺมนิยํ ความว่า วิปัสสนาจิต
อ่อนในขณะแห่งโลกกุตตรมรรค เป็นจิตทนต่อการงาน คือควรประกอบ
การงานฉันใด จิตในจตุตถฌานมีอภิญญาเป็นบาทของภิกษุนั้น
ย่อมเป็นจิตอ่อนควรแก่การงานฉันนั้น. บทว่า อปฺปมาโณ สมาธิ
ความว่า สมาธิในพรหมวิหาร 4 ก็ดี สมาธิในมรรคผลก็ดี ชื่อว่า
สมาธิ หาประมาณมิได้ แต่ในสูตรนี้ หมายถึงอารมณ์อันหาประมาณ

มิได้ เพราะเหตุนั้น พึงเห็นว่า สมาธิคล่องแคล่วด้วยดี เป็นอัปปมาณ-
สมาธิ โดยปริยายนี้. บทว่า โส อปฺปมาเณน สมาธินา สุภาวิเตน
ความว่า ภิกษุนี้เจริญวิปัสสนาในฐานะนี้แล้วจึงบรรลุพระอรหัต.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงลำดับแห่งอภิญญาของ
พระขีณาสพจึงตรัสคำมีอาทิว่า ยํ ยสฺเสว ดังนี้.
จบ อรรถกถาคาวีสูตรที่ 4

5. ฌานสูตร


ว่าด้วยฌานสมาบัติและสัญญาเวทนิตนิโรธ


[240] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ทุติฌานบ้าง ตติยฌาน
บ้าง จตุตฌานบ้าง อากาสนัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง.
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัด
จากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่ง
ปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็น
ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของ
ชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรม
เหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ
นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละ
คืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ
นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ